คลังบทความของบล็อก

วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2562

การรักษาโรคสมองเสื่อม


        
     การรักษา


       
                    ยาสำหรับรักษาโรคสมองเสื่อม   ปัจจุบันมียาหลายชนิดที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคสมองเสื่อมในระดับรุนแรงน้อย รุนแรงปานกลาง และรุนแรงมาก ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคสมองเสื่อม ความรุนแรงของโรค และสิ่งตรวจพบอื่นๆ ที่แพทย์ตรวจพบ ซึ่งอาจทำให้คุณได้รับการจ่ายยาเพื่อรักษาอาการ อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้รับประโยชน์จากการใช้ยา

                      1. ยาโดเนเพซิล (donepezil) และยาอื่นๆ ในกลุ่ม acetylcholinesterase inhibitors
 ยาในกลุ่ม acetylcholinesterase inhibitors เช่น กาแลนทามีน (galantamine) และ ไรวาสติกมีน (rivastigmine) ถูกใช้เพื่อรักษาโรคอัลไซเมอร์ที่มีอาการรุนแรงน้อยถึงรุนแรงปานกลาง ยานี้สามารถใช้เพื่อรักษาโรคสมองเสื่อมจากลิววี่ บอดี้ ได้ และยังมีประสิทธิภาพในการรักษาอาการประสาทหลอนด้วยผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยของยาในกลุ่ม acetylcholinesterase inhibitors คือ คลื่นไส้ อาเจียน แต่อาการมักจะดีขึ้นเมื่อรับประทานยาผ่านไป 2 สัปดาห์แล้วยาในกลุ่ม Acetylcholinesterase inhibitors บางครั้งอาจทำให้หัวใจเต้นช้าลง ดังนั้นคุณอาจจำเป็นต้องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (electrocardiogram (ECG)) ทั้งก่อนและระหว่างการใช้ยานี้ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจคือการตรวจที่จะบันทึกจังหวะและคลื่นไฟฟ้าของหัวใจ

                        2. ยามีแมนทีน (memantine hydrochloride)ยามีแมนทีน เป็นยาที่ออกฤทธิ์โดยยับยั้งผลของสารเคมีในสมอง ใช้ในการรักษาโรคอัลไซเมอร์ที่มีอาการรุนแรง แต่ก็สามารถใช้เพื่อรักษาผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงปานกลาง หากผู้ป่วยรายนั้นตอบสนองไม่ดีต่อยาในกลุ่ม acetylcholinesterase inhibitors

                       3. ยารักษาโรคจิต (Antipsychotics)ยารักษาโรคจิตเป็นยาที่บางครั้งใช้ในการรักษาผู้ที่มีพฤติกรรมผิดปกติ เช่น ผู้ป่วยที่มีแนวโน้มจะก้าวร้าว หรือมีอาการกระวนกระวายใจ ปกติแล้วยานี้จะถูกใช้ในช่วงเวลาสั้นๆ ด้วยความระมัดระวัง เพราะยาจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหากับหัวใจและหลอดเลือด ทำให้ง่วงนอน และมีแนวโน้มที่จะทำให้อาการอื่นๆ ของโรคสมองเสื่อมแย่ลงได้มีหลักฐานว่ายารักษโรคจิตอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงกับผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจากลิววี่ บอดี้ ได้แก่:

                                1.1 ร่างกายแข็ง

                                1.2 ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้
            
                                1.3 ไม่สามารถพูดคุยสื่อสารได้

              ส่วนใหญ่แล้ว ยารักษาโรคจิตจะถูกใช้เมื่อผู้ป่วยมีพฤติกรรมท้าทายและพฤติกรรมก่อกวนที่รุนแรงซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อตัวผู้ป่วยเอง ก่อนการเริ่มใช้ยารักษาโรคจิต จะต้องคำนึงถึงประโยชน์และความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการรักษา โดยจะต้องมีการปรึกษาพูดคุยกันระหว่างแพทย์, ครอบครัวของผู้ป่วย และถ้าเป็นไปได้ควรพูดคุยกับผู้ป่วยที่จะได้รับยาด้วยถ้ามีการสั่งใช้ยารักษาโรคจิตให้กับผู้ป่วย แพทย์จะจ่ายยาด้วยขนาดต่ำสุดและระยะเวลาที่สั้นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และผู้ที่ได้รับยารักษาโรคจิตจำเป็นต้องได้รับการติดตามภาวะทางสุขภาพอย่างรอบคอบ
                  4. ยารักษาโรคซึมเศร้า (Antidepressants)ภาวะซึมเศร้าเป็นปัญหาสำหรับผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจำนวนมาก ซึ่งอาจเชื่อมโยงกับความรู้สึกผิดหวังที่ตนเองเป็นโรคนี้ภาวะซึมเศร้าบางครั้งสามารถทำให้ความจำของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมแย่ลงได้ ดังนั้นจึงอาจต้องจ่ายยารักษาโรคซึมเศร้าให้กับผู้ป่วยด้วย
                  5.  การรักษาทางด้านจิตใจสำหรับผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมการรักษาทางด้านจิตใจไม่สามารถชะลอการดำเนินไปของโรคสมองเสื่อมได้ แต่สามารถช่วยเรื่องอาการที่ผู้ป่วยเป็นได้
                           1.1    การบำบัดด้วยการกระตุ้นการรู้คิด และ การบำบัดด้วยการรับรู้ตามความเป็นจริง (Cognitive stimulation and reality orientation therapy)
                           1.2    การบำบัดด้วยการกระตุ้นการรู้คิด (Cognitive stimulation therapy) จะมีการทำ กิจกรรมและการออกกำลังกายซึ่งจะช่วยกระตุ้นความจำ ช่วยทำให้ความสามารถในการแก้ปัญหาและความสามารถทางภาษาดีขึ้น
                           1.3    การบำบัดด้วยการรับรู้ตามความเป็นจริง (reality orientation therapy) จะช่วยลดความรู้สึกของการสับสนทางอารมณ์, การสูญเสียความทรงจำและความสับสน และช่วยเพิ่มความนับถือเคารพตนเองมีหลักฐานสนับสนุนว่า การบำบัดด้วยการกระตุ้นการรู้คิด จะช่วยให้ทักษะการคิดและความจำของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมดีขึ้น ซึ่งปัจจุบันคือการรักษาทางด้านจิตใจวิธีเดียวที่ถูกแนะนำโดย  National Institute for Health and Care Excellence (NICE) ว่าสามารถช่วยผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมที่มีอาการรุนแรงน้อยถึงรุนแรงปานกลาง
                            1.4    การบำบัดด้วยการรับรู้ตามความเป็นจริง อาจมีประโยชน์ในผู้ป่วยบางราย แต่ประโยชน์ที่เกิดขึ้นมีไม่มากและมักปรากฏขึ้นเมื่อมีความพยายามทำอย่างต่อเนื่องเท่านั้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น