อาการ
1. เริ่มจำสิ่งที่ตัวเองเพิ่งพูดไปไม่ได้ มักพูดซ้ำ ๆ ในเรื่องเดิม หรือโทร.
หาลูก-หลานวันละหลายครั้ง เพื่อบอกเรื่องเดิมซ้ำ ๆ
2. มีอาการจำเหตุการณ์หรือใบหน้าคนที่เพิ่งเจอในระยะสั้น
ๆ ไม่ได้ เช่น ในกรณีมีคนเอาของมาให้ ก็จำไม่ได้ว่าใครเป็นคนเอามาให้
หรือจำไม่ได้ว่ากินข้าวหรือยังทั้งที่เพิ่งกินไป
3. บุคลิกภาพเปลี่ยนไป เช่น
ทำอะไรช้าลง นั่งเหม่อบ่อยขึ้น ชอบพูดถึงอดีตเก่า ๆ คิดเรื่องยาก ๆ
หรือคิดแก้ปัญหาอะไรไม่ค่อยได้
4. อารมณ์ฉุนเฉียวง่ายขึ้น
เนื่องจากภาวะการทำงานในส่วนของการควบคุมอารมณ์เริ่มเสื่อมประสิทธิภาพ
จึงอาจมีการกระทบกระทั่ง โกรธ ฉุนเฉียว ใส่คนในบ้านอย่างไม่ค่อยมีเหตุผล
หรืออาจมีอารมณ์เปลี่ยนไป เช่น กินข้าวไปหัวเราะไป
5. เกิดภาวะหลงผิด เช่น
คิดว่ามีโจรมาขโมยเงินในบ้าน เนื่องจากผู้ป่วยวางเงินไว้แล้วลืม
เก็บเงินไว้ตรงไหนก็ลืมว่าได้เก็บเงินไว้ ทำให้คิดไปว่าเงินตัวเองหาย
และเชื่อว่ามีโจรขโมยอยู่ในบ้าน เป็นต้น หรือบางเคสอาจฝังใจกับอดีตเก่า ๆ
แล้วเอามาคิดใหม่ เข้าใจใหม่ เช่น สมัยก่อนสามีเจ้าชู้ ก็จะระแวงว่าสามีจะไปมีชู้
เป็นต้น
6. มีอาการเห็นภาพหลอน
เห็นคนที่บุกรุกเข้ามาในบ้าน เห็นญาติที่เสียชีวิตไปมาหา ซึ่งอาจทำให้ลูก-หลาน
คนในบ้านคล้อยตามได้ เข้าใจผิดคิดว่าเขาเห็นสิ่งลึกลับจริง ๆ
ทั้งที่ความจริงแล้วผู้ป่วยเริ่มแสดงอาการความจำเสื่อม
7. อาการหลงลืมเริ่มเห็นชัดขึ้น
เช่น ลืมว่าตัวเองกินข้าวไปแล้ว ลืมว่าต้องอาบน้ำ
และโดยส่วนมากจะสังเกตได้ชัดว่าผู้ป่วยเริ่มมีภาวะบกพร่องในการดูแลสุขอนามัยของตัวเอง
เช่น ลืมตัดเล็บ ไม่ไปตัดผม ลืมกดชักโครก กินอาหารแล้ววางจานทิ้งไว้
ลืมว่าต้องล้างจาน
8. มีพฤติกรรมจำทางกลับบ้านไม่ได้
บางคนอาจเดินหายออกจากบ้านไป เดินไปตามทางเรื่อย ๆ อย่างไม่มีจุดหมาย
ไม่รู้ว่าจะไปไหน แล้วจะกลับบ้านอย่างไร
9. ไม่สามารถทำสิ่งที่เคยทำได้
อย่างเช่น ลืมไปว่าจะปรุงอาหารชนิดนี้ได้อย่างไร ทั้งที่เคยทำ
หรือในรายที่มีอาการรุนแรงมาก ๆ อาจไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ แม้แต่การอาบน้ำ
เข้าห้องน้ำ
10. วางของผิดที่ผิดทาง
เช่น เอาเตารีดไปวางในตู้เย็น เอานาฬิกาข้อมือใส่เหยือกน้ำ
11. มีปัญหาในการใช้ภาษา
เช่น พูดไม่รู้เรื่อง เรียกชื่อคนหรือสิ่งของเพี้ยนไป นึกคำพูดไม่ค่อยออก
หรือใช้คำผิด ๆ ทำให้คนอื่นฟังไม่เข้าใจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น