คลังบทความของบล็อก

วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2562

วิดีโอเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อม





การป้องกันโรคสมองเสื่อม


 การป้องกัน


           โรคสมองเสื่อมเป็นโรคที่หลายคนกลัว และไม่อยากให้เกิดขึ้นทั้งกับตัวเองและคนใกล้ชิด เพราะนอกจากความจำจะแย่ลงแล้ว ยังสูญเสียความสามารถที่จะช่วยเหลือตัวเองในชีวิตประจำวันอีกด้วย บางรายใส่เสื้อหรือแต่งตัวเองไม่ได้ บางคนสูญเสียความสามารถที่เคยภาคภูมิใจ เช่นเป็นคนทำอาหารเก่ง กลับกลายเป็นทำอาหารเค็มจัด ไหม้เกรียม ไม่อร่อย หรือไม่สามารถทำได้เลยก็มี บางคนเคยภูมิใจในการวาดรูป เล่นดนตรี ก็อาจสูญเสียความสามารถส่วนนั้นไป
               1.รับประทานอาหารดี ให้ความสำคัญกับอาหารมื้อเช้า หมั่นรับประทานผักหลากสีและไขมันกลุ่มโอเมก้า3 ให้เพียงพอเพื่อช่วยกระตุ้นการทำงานและซ่อมแซมเซลล์สมอง งดอาหารหวานจัด เค็มจัด และสารปรุงแต่งในอาหาร
               2.จากงานวิจัยกว่า 10 รายงานยืนยันว่า ผู้ที่ออกกำลังกายร่างกายเป็นประจำ เช่น เดินวิ่งวันละ 35 - 60 นาที จะมีอาการป่วยด้วยโรคสมองเสื่อมน้อยกว่าผู้สูงอายุที่ไม่ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
               3.หมั่นเรียนรู้สิ่งใหม่ เพราะทุกครั้งที่เกิดการเรียนรู้ เช่น อ่านหนังสือ ฝึกทำอาหาร เรียนดนตรี เซลล์สมองจะมีการงอกแขนงใยประสาท เชื่อมต่อกับเซลล์สมองรอบๆ เพื่อจำข้อมูลใหม่ ผู้ที่เรียนรู้เรื่องใหม่ๆ เรื่อยๆ จึงมีความหนาแน่นของใยสมองมาก ไม่เกิดอาการสมองเสื่อมได้ง่ายๆ เมื่ออายุมากขึ้น
               4.มีกิจกรรมทางสังคมสม่ำเสมอ เพราะทุกครั้งที่มีการเข้าสังคม เช่น กินข้าวกับเพื่อนเก่า ไปงานเลี้ยงรุ่น ช่วยงานบุญใหญ่ของวัด หรือทำกิจกรรมจิตอาสา จะช่วยให้สมองกระปรี้กระเปร่า แจ่มใส สารสื่อประสาทที่ดีในสมองก็จะเพิ่มจำนวนขึ้น ตรงข้ามกับผู้ที่ชอบเก็บตัว อยู่คนเดียว ไม่เข้าสังคม เซลล์สมองจะไม่งอกงาม สารสื่อประสาทที่ดีจะน้อยลงเรื่อยๆ
               5.นอนหลับอย่างเพียงพอ ควรเริ่มตั้งแต่วัยหนุ่มสาว แต่ไม่ว่าจะอายุเท่าไรก็ต้องดูแลครับ เพราะการหลับเป็นการปรับการทำงานของสมอง ช่วยเปลี่ยนความจำระยะสั้นเป็นความจำระยะ และเป็นช่วงเวลาของกลไกการลบลืมความจำบางสิ่งบางอย่าง เช่น การลบรายละเอียดที่ไม่จำเป็น ก็เกิดในช่วงการนอนหลับด้วยเช่นกัน หากเราจดจำทุกสิ่งอย่างโดยไม่มีการลืม อาจทำให้สมองทำงานหนักแต่ด้านความจำ ส่งผลเสียให้ความคิดสร้างสรรค์ลดลง สมองไม่ปลอดโปร่งว่องไวอย่างที่ควร
               6.งดสูบบุหรี่ งดดื่มเหล้า เพราะเป็นสาเหตุร้ายทำลายสมองทั้งทางตรงและทางอ้อม แต่มีการศึกษาที่ยกเว้นไว้คือ ไวน์แดงในปริมาณไม่เกิน 2 แก้วต่อวันที่ส่งผลดีต่อสมอง
               7.รู้จักผ่อนคลาย ลดความเครียดประจำวัน ด้วยดนตรี การนั่งสมาธิ และหากมีอาการต้องสงสัยเป็นโรคซึมเศร้าควรรีบรักษาทันที มีการศึกษาพบว่าความเครียดและโรคซึมเศร้าจะมีปุ๋ยของเซลล์สมองที่เรียกว่า BDNF คือสารที่ช่วยให้มีการเชื่อมต่อของเซลล์ประสาทในสมอง หากซึมเศร้ามาก เครียดมากจะขาดสารนี้ จนทำให้สมองฝ่อและเสื่อมเร็ว
               8.ดูแลรักษาโรคพื้นฐาน หรือเรื้อรังให้ดี เช่น กลุ่มความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน และความอ้วน หากไม่ได้รับการรักษา จะยิ่งเร่งให้สมองเสื่อมเร็วมาก และความจำไม่ดีตั้งแต่อายุยังน้อย
               9.รับวิตามินดีในแสงแดด เพราะจากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยอัลไซเมอร์ มีระดับวิตามินดีต่ำกว่ากลุ่มคนทั่วไป แม้ในประเทศไทยที่มีแสงแดด แต่หากทำงานช่วงค่ำ กลางคืน หรือไม่ได้เจอแสงแดดเลยอาจมีความเสี่ยงได้เช่นกัน
               10.เลี่ยงการกระทบกระแทกต่อศีรษะ เช่น การหกล้มบ่อย หัวกระแทกตู้โต๊ะที่ไม่เป็นระเบียบแรงๆ การเล่นกีฬา ที่ต้องกระทบกระแทกศีรษะมาก เช่น ชกมวย คาราเต้ ทำให้สมองบาดเจ็บ สมองเสื่อมไวได้




การรักษาโรคสมองเสื่อม


        
     การรักษา


       
                    ยาสำหรับรักษาโรคสมองเสื่อม   ปัจจุบันมียาหลายชนิดที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคสมองเสื่อมในระดับรุนแรงน้อย รุนแรงปานกลาง และรุนแรงมาก ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคสมองเสื่อม ความรุนแรงของโรค และสิ่งตรวจพบอื่นๆ ที่แพทย์ตรวจพบ ซึ่งอาจทำให้คุณได้รับการจ่ายยาเพื่อรักษาอาการ อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้รับประโยชน์จากการใช้ยา

                      1. ยาโดเนเพซิล (donepezil) และยาอื่นๆ ในกลุ่ม acetylcholinesterase inhibitors
 ยาในกลุ่ม acetylcholinesterase inhibitors เช่น กาแลนทามีน (galantamine) และ ไรวาสติกมีน (rivastigmine) ถูกใช้เพื่อรักษาโรคอัลไซเมอร์ที่มีอาการรุนแรงน้อยถึงรุนแรงปานกลาง ยานี้สามารถใช้เพื่อรักษาโรคสมองเสื่อมจากลิววี่ บอดี้ ได้ และยังมีประสิทธิภาพในการรักษาอาการประสาทหลอนด้วยผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยของยาในกลุ่ม acetylcholinesterase inhibitors คือ คลื่นไส้ อาเจียน แต่อาการมักจะดีขึ้นเมื่อรับประทานยาผ่านไป 2 สัปดาห์แล้วยาในกลุ่ม Acetylcholinesterase inhibitors บางครั้งอาจทำให้หัวใจเต้นช้าลง ดังนั้นคุณอาจจำเป็นต้องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (electrocardiogram (ECG)) ทั้งก่อนและระหว่างการใช้ยานี้ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจคือการตรวจที่จะบันทึกจังหวะและคลื่นไฟฟ้าของหัวใจ

                        2. ยามีแมนทีน (memantine hydrochloride)ยามีแมนทีน เป็นยาที่ออกฤทธิ์โดยยับยั้งผลของสารเคมีในสมอง ใช้ในการรักษาโรคอัลไซเมอร์ที่มีอาการรุนแรง แต่ก็สามารถใช้เพื่อรักษาผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงปานกลาง หากผู้ป่วยรายนั้นตอบสนองไม่ดีต่อยาในกลุ่ม acetylcholinesterase inhibitors

                       3. ยารักษาโรคจิต (Antipsychotics)ยารักษาโรคจิตเป็นยาที่บางครั้งใช้ในการรักษาผู้ที่มีพฤติกรรมผิดปกติ เช่น ผู้ป่วยที่มีแนวโน้มจะก้าวร้าว หรือมีอาการกระวนกระวายใจ ปกติแล้วยานี้จะถูกใช้ในช่วงเวลาสั้นๆ ด้วยความระมัดระวัง เพราะยาจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหากับหัวใจและหลอดเลือด ทำให้ง่วงนอน และมีแนวโน้มที่จะทำให้อาการอื่นๆ ของโรคสมองเสื่อมแย่ลงได้มีหลักฐานว่ายารักษโรคจิตอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงกับผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจากลิววี่ บอดี้ ได้แก่:

                                1.1 ร่างกายแข็ง

                                1.2 ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้
            
                                1.3 ไม่สามารถพูดคุยสื่อสารได้

              ส่วนใหญ่แล้ว ยารักษาโรคจิตจะถูกใช้เมื่อผู้ป่วยมีพฤติกรรมท้าทายและพฤติกรรมก่อกวนที่รุนแรงซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อตัวผู้ป่วยเอง ก่อนการเริ่มใช้ยารักษาโรคจิต จะต้องคำนึงถึงประโยชน์และความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการรักษา โดยจะต้องมีการปรึกษาพูดคุยกันระหว่างแพทย์, ครอบครัวของผู้ป่วย และถ้าเป็นไปได้ควรพูดคุยกับผู้ป่วยที่จะได้รับยาด้วยถ้ามีการสั่งใช้ยารักษาโรคจิตให้กับผู้ป่วย แพทย์จะจ่ายยาด้วยขนาดต่ำสุดและระยะเวลาที่สั้นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และผู้ที่ได้รับยารักษาโรคจิตจำเป็นต้องได้รับการติดตามภาวะทางสุขภาพอย่างรอบคอบ
                  4. ยารักษาโรคซึมเศร้า (Antidepressants)ภาวะซึมเศร้าเป็นปัญหาสำหรับผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจำนวนมาก ซึ่งอาจเชื่อมโยงกับความรู้สึกผิดหวังที่ตนเองเป็นโรคนี้ภาวะซึมเศร้าบางครั้งสามารถทำให้ความจำของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมแย่ลงได้ ดังนั้นจึงอาจต้องจ่ายยารักษาโรคซึมเศร้าให้กับผู้ป่วยด้วย
                  5.  การรักษาทางด้านจิตใจสำหรับผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมการรักษาทางด้านจิตใจไม่สามารถชะลอการดำเนินไปของโรคสมองเสื่อมได้ แต่สามารถช่วยเรื่องอาการที่ผู้ป่วยเป็นได้
                           1.1    การบำบัดด้วยการกระตุ้นการรู้คิด และ การบำบัดด้วยการรับรู้ตามความเป็นจริง (Cognitive stimulation and reality orientation therapy)
                           1.2    การบำบัดด้วยการกระตุ้นการรู้คิด (Cognitive stimulation therapy) จะมีการทำ กิจกรรมและการออกกำลังกายซึ่งจะช่วยกระตุ้นความจำ ช่วยทำให้ความสามารถในการแก้ปัญหาและความสามารถทางภาษาดีขึ้น
                           1.3    การบำบัดด้วยการรับรู้ตามความเป็นจริง (reality orientation therapy) จะช่วยลดความรู้สึกของการสับสนทางอารมณ์, การสูญเสียความทรงจำและความสับสน และช่วยเพิ่มความนับถือเคารพตนเองมีหลักฐานสนับสนุนว่า การบำบัดด้วยการกระตุ้นการรู้คิด จะช่วยให้ทักษะการคิดและความจำของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมดีขึ้น ซึ่งปัจจุบันคือการรักษาทางด้านจิตใจวิธีเดียวที่ถูกแนะนำโดย  National Institute for Health and Care Excellence (NICE) ว่าสามารถช่วยผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมที่มีอาการรุนแรงน้อยถึงรุนแรงปานกลาง
                            1.4    การบำบัดด้วยการรับรู้ตามความเป็นจริง อาจมีประโยชน์ในผู้ป่วยบางราย แต่ประโยชน์ที่เกิดขึ้นมีไม่มากและมักปรากฏขึ้นเมื่อมีความพยายามทำอย่างต่อเนื่องเท่านั้น



ความรุนแรงของโรคสมองเสื่อม



ความรุนแรง
                        แบ่งความรุนแรงของโรคสมองเสื่อม ก็สามารถแบ่งตามอาการได้ 3 ระดับคือ
         1. ระดับไม่รุนแรง คือมีภาวะสมองเสื่อมเล็กน้อย ผู้ป่วยจะหลงลืมเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้น เช่น ลืมว่าวางของไว้ตรงไหน อาจจำชื่อคนหรือสถานที่ที่คุ้นเคยไม่ได้ แต่ถ้าเป็นเรื่องในอดีตยังสามารถจำได้ดี
         2. ระดับปานกลาง จะมีภาวะความจำเสื่อมมากขึ้น ความสามารถในการเรียนรู้ ความเข้าใจ การแก้ปัญหาและตัดสินใจทำได้ไม่ดี หรือบกพร่อง หลายสิ่งที่เคยทำได้กลับทำไม่ได้ เช่น ลืมวิธีทำอาหาร เปิดโทรทัศน์ไม่เป็น คำนวณเลขง่าย ๆ ไม่ได้ บางคนอาจลืมแม้กระทั่งชื่อคนในครอบครัว หากเป็นในระยะท้าย ๆ จะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ต้องมีคนคอยดูแล ไม่ควรปล่อยให้อยู่คนเดียว
         3. ระดับรุนแรง ผู้ป่วยจะไม่สามารถจำสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นได้ จำญาติพี่น้องหรือแม้แต่ตนเองไม่ได้ บุคลิกภาพเปลี่ยนไป ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ แม้แต่สุขอนามัยของตัวเอง เช่น กลั้นปัสสาวะ-อุจจาระไม่อยู่ หากผู้ป่วยอยู่ในระดับนี้ต้องมีผู้คอยดูแลอย่างใกล้ชิด
    


อาการของโรคสมองเสื่อม


      
อาการ
       1. เริ่มจำสิ่งที่ตัวเองเพิ่งพูดไปไม่ได้ มักพูดซ้ำ ๆ ในเรื่องเดิม หรือโทร. หาลูก-หลานวันละหลายครั้ง เพื่อบอกเรื่องเดิมซ้ำ ๆ
       2. มีอาการจำเหตุการณ์หรือใบหน้าคนที่เพิ่งเจอในระยะสั้น ๆ ไม่ได้ เช่น ในกรณีมีคนเอาของมาให้ ก็จำไม่ได้ว่าใครเป็นคนเอามาให้ หรือจำไม่ได้ว่ากินข้าวหรือยังทั้งที่เพิ่งกินไป
       3. บุคลิกภาพเปลี่ยนไป เช่น ทำอะไรช้าลง นั่งเหม่อบ่อยขึ้น ชอบพูดถึงอดีตเก่า ๆ คิดเรื่องยาก ๆ หรือคิดแก้ปัญหาอะไรไม่ค่อยได้
       4. อารมณ์ฉุนเฉียวง่ายขึ้น เนื่องจากภาวะการทำงานในส่วนของการควบคุมอารมณ์เริ่มเสื่อมประสิทธิภาพ จึงอาจมีการกระทบกระทั่ง โกรธ ฉุนเฉียว ใส่คนในบ้านอย่างไม่ค่อยมีเหตุผล หรืออาจมีอารมณ์เปลี่ยนไป เช่น กินข้าวไปหัวเราะไป
       5. เกิดภาวะหลงผิด เช่น คิดว่ามีโจรมาขโมยเงินในบ้าน เนื่องจากผู้ป่วยวางเงินไว้แล้วลืม เก็บเงินไว้ตรงไหนก็ลืมว่าได้เก็บเงินไว้ ทำให้คิดไปว่าเงินตัวเองหาย และเชื่อว่ามีโจรขโมยอยู่ในบ้าน เป็นต้น หรือบางเคสอาจฝังใจกับอดีตเก่า ๆ แล้วเอามาคิดใหม่ เข้าใจใหม่ เช่น สมัยก่อนสามีเจ้าชู้ ก็จะระแวงว่าสามีจะไปมีชู้ เป็นต้น
       6. มีอาการเห็นภาพหลอน เห็นคนที่บุกรุกเข้ามาในบ้าน เห็นญาติที่เสียชีวิตไปมาหา ซึ่งอาจทำให้ลูก-หลาน คนในบ้านคล้อยตามได้ เข้าใจผิดคิดว่าเขาเห็นสิ่งลึกลับจริง ๆ ทั้งที่ความจริงแล้วผู้ป่วยเริ่มแสดงอาการความจำเสื่อม
       7. อาการหลงลืมเริ่มเห็นชัดขึ้น เช่น ลืมว่าตัวเองกินข้าวไปแล้ว ลืมว่าต้องอาบน้ำ และโดยส่วนมากจะสังเกตได้ชัดว่าผู้ป่วยเริ่มมีภาวะบกพร่องในการดูแลสุขอนามัยของตัวเอง เช่น ลืมตัดเล็บ ไม่ไปตัดผม ลืมกดชักโครก กินอาหารแล้ววางจานทิ้งไว้ ลืมว่าต้องล้างจาน
       8. มีพฤติกรรมจำทางกลับบ้านไม่ได้ บางคนอาจเดินหายออกจากบ้านไป เดินไปตามทางเรื่อย ๆ อย่างไม่มีจุดหมาย ไม่รู้ว่าจะไปไหน แล้วจะกลับบ้านอย่างไร
       9. ไม่สามารถทำสิ่งที่เคยทำได้ อย่างเช่น ลืมไปว่าจะปรุงอาหารชนิดนี้ได้อย่างไร ทั้งที่เคยทำ หรือในรายที่มีอาการรุนแรงมาก ๆ อาจไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ แม้แต่การอาบน้ำ เข้าห้องน้ำ 
       10. วางของผิดที่ผิดทาง เช่น เอาเตารีดไปวางในตู้เย็น เอานาฬิกาข้อมือใส่เหยือกน้ำ
       11. มีปัญหาในการใช้ภาษา เช่น พูดไม่รู้เรื่อง เรียกชื่อคนหรือสิ่งของเพี้ยนไป นึกคำพูดไม่ค่อยออก หรือใช้คำผิด ๆ ทำให้คนอื่นฟังไม่เข้าใจ




สาเหตุของโรคสมองเสื่อม


สาเหตุสมองเสื่อม
              มีสาเหตุมาจากความเสียหายหรือความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับสมอง โดยโรคอัลไซเมอร์เป็นสาเหตุที่พบมากที่สุดและสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือด (Vascular Dementia) เป็นสาเหตุรองลงมา ซึ่งส่วนใหญ่แล้วสมองเสื่อมจะไม่สามารถรักษาให้กลับคืนเป็นปกติได้ และอาการมักเป็นมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น
                                           1) สาเหตุของสมองเสื่อมชนิดที่ไม่สามารถกลับคืนเป็นปกติ
                    1.1 โรคอัลไซเมอร์ เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด มักจะเกิดกับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปี ขึ้นไปผู้ป่วยสมองเสื่อมที่มาพร้อมอาการทางประสาท (Dementia with Lewy Bodies) สามารถทำให้เสียความทรงจำในระยะสั้น และยังทำให้มีปัญหาในการนอนหลับ อาการประสาทหลอน หรือร่างกายขาดสมดุล
                     1.2 สมองเสื่อมชนิด Frontotemporal Dementia: FTD อาการที่พบ ผู้ป่วยจะมีบุคลิกที่เปลี่ยนแปลงไป หรือทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น พูดจาหยาบคาย หรือแสดงกริยาที่ไม่เหมาะสมต่อผู้อื่น
                     1.3  โรคพาร์กินสัน เป็นโรคที่เกี่ยวกับระบบประสาทที่ทำให้เกิดสมองเสื่อมได้เช่นกัน ผู้ป่วยจะมีปัญหาในการเคลื่อนไหว และการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ
                     1.4 ภาวะสมองเสื่อมที่มาจากโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือด (Vascular Dementia) มักจะเกิดในผู้ป่วยเป็นโรคสมองขาดเลือด เป็นความดันโลหิตสูงระยะยาว โรคหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis)
                     1.5 การได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรง อาจทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับความจำและสมาธิ
                  2) สาเหตุของสมองเสื่อมชนิดที่อาจรักษาให้กลับคืนเป็นปกติได้ ที่พบบ่อยมีดังนี้
                     2.1 ได้รับสารพิษโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว
                     2.2 การขาดวิตามิน บี 12
                     2.3 ภาวะขาดไทรอยด์ (Hypothyroidism)
                     2.4 ผลข้างเคียงจากการใช้ยา
                     2.5 เนื้องอกในสมองบางชนิด
                     2.6 ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ (Hydrocephalus)
                     2.7 สมองอักเสบ
                     2.8 ราเรื้อรัง




โรคสมองเสื่อมคืออะไร

โรคสมองเสื่อม
         คือ  ชื่อกลุ่มอาการที่มีการทำงานของสมองในด้านความจำ ความคิด การใช้เหตุผล การใช้ภาษา และการรับรู้สิ่งแวดล้อม ผิดปกติไป ทำให้เกิดปัญหาทางความคิด การตัดสินใจ พฤติกรรม และ อารมณ์ผิดปกติไป มีผลต่อการใช้ชีวิตหรือการทำกิจวัตรประจำวันจนในที่สุดผู้ป่วยหลายคนช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ต้องมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด
        ภาวะสมองเสื่อมเป็นภาวะที่ผู้ป่วยสูญเสียความสามารถในการรู้คิดในการทำงานของสมองหลายๆ ด้านซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยสูญเสียความสามารถในการทำงานและการประกอบกิจวัตรประจำวัน  ภาวะนี้ทำให้เกิดผลกระทบต่อทั้งตัวผู้ป่วยเอง และผู้ดูแลในครอบครัวโดยส่งผลกระทบทั้งต่อด้านทางกาย ทางจิตใจ อารมณ์และ เศรษฐานะหนึ่ง



                                              https://med.mahidol.ac.th/ramamental/
                                               generalknowledge/07072014-1302